วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ 
1. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
                กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา
                พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาพระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                พระราชกำหนด คือ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับ เช่น พระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
                พระราชกฤษฎีกา คือ บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย”
                เทศบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเทศบาลของท้องถิ่นนั้นๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
                ดิฉันคิดว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศนั้น ปัจจุบันมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ควรมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ 
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่แก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องแก้ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญและไม่ควรเอาความคิดส่วนตัวเป็นหลัก ฉะนั้นดิฉันคิดว่าควรที่จะทำทุกอย่างเพื่อประเทศ ให้ประเทศชาติอยู่อย่างสงบสุขและประชาชนก็จะอยู่กันอย่างมีความสุข
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษาขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดน ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
                ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับประชาชนในประเทศ เพราะเส้นเขตแดนที่กำลังทะเลาะกัน มันถูกขีดขึ้นโดยคนอื่นมันมาทีหลัง มันเป็นจินตนาการและสิ่งสร้างในฝันที่ดูเหมือนจะสวยงาม เพราะแท้ที่จริงแล้วเส้นเขตแดน มันพาดผ่านทอดทับหมู่บ้าน ผู้คน กลุ่มชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆมานานแล้ว มันแบ่งแยกเราเขาที่พูดภาษาเดียวกัน เคยเป็นครอบครัวเดียวกัน เคยไปมาหาสู่ซื้อขายสินค้า พบปะสังสรรค์ มันอาจมีความสำคัญกับรัฐชาติสมัยใหม่ แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากมายกับชีวิตผู้คนที่เขาอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ดังนั้น อย่าให้สิ่งที่มันเป็นเพียงจินตนาการที่มีประโยชน์ไม่มากมาทำลายชีวิตผู้คน การทำมาหากิน การได้ใช้ชีวิตปกติ ครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลย 
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติการศึกษานั้นเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา  เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง  ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา
                การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้และการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ก็คือ การเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองมุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเองและปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของโลก
                การศึกษาในระบบ คือ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบเช่นนี้  หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียก อย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
                การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
                การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่า เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย  ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ
                สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
                สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ เป็นสถานที่ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
                ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียนสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่านรวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
                คณาจารย์ คือ บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
           
                ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
                บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
                ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา ดิฉันคิดว่าเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา  หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา
                หลักการจัดการศึกษา ดิฉันคิดว่าเป็นการศึกษาที่จัดให้กับคนไทยทุกคน อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และต้องพัฒนาสาระ กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคนไทยตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
                ไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
         1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
         2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
         3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
         4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
         5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
          6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
          7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
          8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

9. หากนักศึกษาต้องการสอนบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
                1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2547
             2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
             3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
             4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
                ในการเรียนวิชานี้ดิฉันคิดว่าเป็นวิชาที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายในมาตราต่างๆ และพระราชบัญญัติอีกมากมายที่ดิฉันไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้ติดตัวไปด้วยและดิฉันก็ได้เรียนตามจุดประสงค์ที่อาจารย์ได้วางไว้อย่างครบถ้วนแล้ว
                ในการเรียนวิชานี้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog นั้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากและมีความเหมาะสมด้วย โดยปกติวิชานี้เป็นที่มีเนื้อหามากแล้วก็ควรที่จะใช้การดาวน์โหลดเนื้อหามันจะง่ายกว่ากับการที่จะต้องมานั่งเขียนในสมุด เพราะมันจะทำให้เปลืองกระดาษก็ได้ บางทีการเรียนโดยใช้หนังสือหรือสมุดมันอาจจะทำให้หายก็ได้ แต่ถ้าเรียนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog เราก็จะสามารถเรียนได้ตลอดเวลาที่มีอินเตอร์เน็ตและก็สามารถเก็บได้นาน   
                ส่วนเรื่องน้ำหนักเกรดวิชานี้ให้ A เพราะเป็นวิชาที่มีความรู้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีด้วย และที่สำคัญเกรดที่ดิฉันอยากก็คือ A ค่ะอาจารย์


วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 9


ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร  ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น  เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)
1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา   พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547 
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ เมื่อมีผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ไม่ว่ารายเดียวหรือหลายรายให้แก่ส่วนราชการหรือสถานศึกษา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่ได้รับผลประโยชน์สำหรับการบริจาคตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึงสิบล้านบาท ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่ได้รับบริจาคไม่ถึงห้าล้านบาท ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณ
2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร    พ.ศ.2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวราชการ               พ.ศ. 2548
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายจาตุรนต์   ฉายแสง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ การประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข่าวราชการเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของส่วนราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข่าวราชการ
3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา  ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายวิจิตร   ศรีสอ้าน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  การจัดตั้งสถานศึกษา  ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
                ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของ สถานศึกษาอื่น
                ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคน
ถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ   พ.ศ.2548    
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ พ.ศ. 2548
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายจาตุรนต์   ฉายแสง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่กำกับการสอบสำหรับการสอบทุกประเภทในส่วนราชการและสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้หมายรวมถึงหน้าที่กำกับการสอบในสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแลหรือสถานศึกษาที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                ผู้กำกับการสอบจะต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร  กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบแก่ผู้เข้าสอบ  ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผุ้เข้าสอบ  จะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามแบบที่ส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนด  หากผู้กำกับการสอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาความผิดและลงโทษตามควรแก่กรณี  และถ้าผู้กำกับการสอบ มีความประมาทเลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้น หรือรู้เห็นแล้วไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ หรือไม่รายงานต่อหัวหน้าจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตในการสอบเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประพฤติผิดวินัยร้ายแรง
5. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา   พ.ศ.2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง  หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความรุนแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษ
                การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความปฏิบัติไม่ได้ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
                ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา โดยการว่ากล่าวตักเตือน การทำทัณฑ์บนในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา  การตัดคะแนนความประพฤติ การทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของ  สถานศึกษา พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 08.30 นาฬิกา ถึง 16.30 นาฬิกา  หยุดกลางวันเวลา 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา เป็นเวลาทำงานตามปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ หยุดราชการเต็มวันทั้งสองวัน
7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา       พ.ศ.2547        
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  การตั้งชื่อสถานศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษา  ในระดับต่ำกว่าปริญญาให้ใช้คำว่า “โรงเรียน” หรือ “วิทยาลัย” เป็นคำขึ้นต้นแล้วแต่กรณีและต่อด้วยชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคล ผู้ได้รับการจารึกในประวัติสาสตร์หรือสถานที่อื่นใด
                การใช้คำขึ้นต้นหรือตั้งชื่อสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด
8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ  สถานศึกษา พ.ศ.2549
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ. 2549
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ คุณหญิงกษมา    วรวรรณ ณ อยุธยา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  
                การตั้งชื่ออาคาร ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคาร ควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
                การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
                กรณีที่มีผู้จัดซื้อให้ หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นตามความประสงค์ของผู้บริจาค
9. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2547
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
ในกรณีที่ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
 (ก) สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด
 (ข) ถ้าหากเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่น ๆ ที่หน่วยราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน
 (ค) ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้นวัน เดือน ปีเกิด ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป

10. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการ ปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา พ.ศ.2546
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการ ปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา พ.ศ.2546
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ ปองพล    อดิเรกสาร    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

11. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอก สถานศึกษา พ.ศ.2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอก สถานศึกษา พ.ศ.2548
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายจาตุรนต์    ฉายแสง    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  15  วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู  นักเรียน (/คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอน ในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน  ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา 1 ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักร  หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุม   ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย  ครู 1 : นักเรียนไม่เกิน 30 คน      ถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิง ส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน  อนุญาต ไป ไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ  เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
12. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา
ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์

13. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายจาตุรนต์     ฉายแสง    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา  โดยมีนักเรียนนักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเป็นสมาชิก  และให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์ รวมถึงออกข้อบังคับกิจกรรมสหกรณ์ของสถานศึกษานั้นๆ โดยความควบคุบของสถานศึกษา
14. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง
     ราชการ พ.ศ.2550
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ  หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง            
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ กำหนดหลักการเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักของส่วนราชการสามารถใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก  และเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเข้าพักในที่พักของทางราชการได้  โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น  กล่าวคือหากส่วนราชการใดจะใช้ดุลพินิจดังกล่าว จะต้องบริหารเงินงบประมาณที่ได้รับให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรด้วย
แก้ไขบทบัญญัติที่อ้างอิงให้ถูกต้องสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547  รวมทั้งปรับปรุงถ้อยคำของหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติบางส่วนให้มีความชัดเจนและเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น บทบัญญัติที่อ้างฐานอำนาจให้ออกหลักเกณฑ์ฯ จากเดิมที่อ้างตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  เปลี่ยนเป็นพระราชกฤษฎีกาเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 เป็นต้น

15. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษา
     ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2550
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ  นายวิจิตร   ศรีสอ้าน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ
การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษา
ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม

การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไม่น้อยกว่า 40 คน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการ ศึกษาตลอดหลักสูตร

16. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา
     ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
                 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายวิจิตร   ศรีสอ้าน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  การจัดตั้งสถานศึกษา  ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
                ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของ สถานศึกษาอื่น
                ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคน
ถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
17. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้า
     หน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา 
      พ.ศ. 2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้า หน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา   พ.ศ. 2548
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย    โพธารามิก  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  
เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาดังต่อไปนี้
1.  สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัย
และสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
2.  เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอน ต่อไป
3.  ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
4.  เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือ
นักศึกษาฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียน
หรือสถานศึกษาอีก
5.  สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรม
ของบุคคล หรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียนและนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
6.  ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่อื่น

18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน  พ.ศ.2551
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน  พ.ศ.2551
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม  พ.ศ. 2551
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายศรีเมือง   เจริญศิริ     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง  วิธีการ  และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนดังนี้
 ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่างเครื่องหมายของสถานศึกษา
การกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง  หรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น  แล้วแต่กรณี  และประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบ
สถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี
สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง  ชุดไทย  ชุดลำลอง  ชุดฝึกงาน  ชุดกีฬา  ชุดนาฏศิลป์  หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด  ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม

19. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษา เข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน  พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายจาตุรนต์    ฉายแสง     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ ให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ เข้าเรียนในสถานศึกษา กรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียน ในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่
การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษา
เรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. สูติบัตร
2. กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน   ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1หรือ 2ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
4. ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 2 และ 3ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชน
ทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
5. ในกรณีที่ไม่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตามให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา

20. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน  พ.ศ. 2549
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ คุณหญิงกษมา    วรวรรณ    อยุธยา   ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ              
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ
ปีการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียน 16 พฤษภาคม ปิด 11 ตุลาคม ในปีเดียวกัน
ภาคเรียนที่ 2 เปิด 1 พฤศจิกายน ปิด 1 เมษายน ในปีถัดไป
ว่าด้วยการปิดเรียนกรณีพิเศษ คือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน โดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้ แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน
ว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษ คือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ.ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ.ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ปิดแล้วต้องจัดวันเปิดสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันเปิดเรียนปกติที่ปิดไปด้วย
21. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 มกราคม  พ.ศ. 2550
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ ปรีดิยาธร เทวกุล    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  

เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ   เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหรือเป็นอย่างอื่นด้วย
วันทำการ” หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
วันหยุดราชการ” หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ” หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของ
ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก

22. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน  พ.ศ.2549
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน  พ.ศ.2549
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน  พ.ศ. 2549
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ คุณหญิงกษมา   วรวรรณ ณ อยุธยา  ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  

เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ การลงทะเบียนนักเรียน ตามปกติต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำ ห้ามการขูดลบเพิ่มเติม ถ้าเขียนผิดพลาดหรือตก จำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดง การแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไข แล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไป จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่ง สถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองทะเบียน ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการอำเภอ
กรณีการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ถ้าเป็นนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์บังคับเข้าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยประถมศึกษา ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาอนุญาต สถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางให้ผู้อำนวยการกองทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ที่ตั้งอยู่ในส่วน
ภูมิภาคให้ศึกษาธิการอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ส่วนนักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่อยู่ในเกณฑ์บังคับเข้าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยประถมศึกษา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาแก้ไขได้ กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไขไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วย

23. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม  พ.ศ. 2538
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายสุขวิช   รังสิตพล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ
ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ  ภาคปกติ ประเภท ก
1.  สพฐ. พิจารณาโควตาประเภท ก ที่ได้รับการจัดสรรจากสถาบันการศึกษาให้สพท. ตามความเหมาะสม
2.  สพท. ประสานงานกับสถาบันการศึกษา  เพื่อขอโควตา ประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
3.  โรงเรียนประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อขอโควตาประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
4.  สพท. แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยังสถาบันการศึกษาโดยตรงพร้อมทั้งแจ้งผู้ได้รับ        การคัดเลือกไปดำเนินการตามขั้นตอนของสถาบันการศึกษาและรายงานสพฐ. ทราบ
5. ขั้นตอนการดำเนินการลาศึกษาของข้าราชการ
    5.1 ข้าราชการขออนุญาตลาศึกษาต่อผู้มีอำนาจอนุญาต
    5.2 จัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กำหนด
6. ขั้นตอนการดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (ผู้บริหารสถานศึกษา/สพท./สพฐ.)
    6.1 จัดทำคำสั่งให้ไปศึกษาต่อ
    6.2 จัดทำหนังสือส่งตัวข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา ไปยังสถาบันการศึกษา
7. การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาต
    การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา/ขยายเวลา/กลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อ      เสร็จสิ้นการลาศึกษาต่อโดยรายงานให้สพฐ. ทราบทุกภาคการศึกษา
การลาศึกษาต่อ
1.ระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท  กำหนด 2 ปี
2.ระดับปริญญาเอก  กำหนด 4 ปี
   2.คุณวุฒิและสาขาวิชา/วิชาเอกที่ สำนักงาน ก.พ. และ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. กำหนด/และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ กรณีนอกเหนือจากที่ประกาศสพฐ. กำหนด  ให้เสนอสพฐ. พิจารณา        เป็นรายๆ ไป   ยื่นแบบขออนุญาตให้  ข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข (แบบที่ 2) แนบผลการสอบคัดเลือกจากสถาบันการศึกษา และสำเนา ก.พ. 7
24. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2)พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2)พ.ศ.2547
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน  พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ
คุณสมบัติผู้ลาศึกษาต่อ
1.  ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็ม แต่ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง  จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป
2.  มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีอายุเกิน 45 ปี  จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ
3.  ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย   ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์
         
25. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน  พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  การออกหนังสือรับรองความรู้  สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น  ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ  หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด  เมื่อสถานศึกษาใด  พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา  พ.ศ.2547 ข้อ  6  มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อน  กล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่า  “บุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่”  อาจสอบสวนหาพยานหลักฐานเอกสารก่อน  หากไม่ปรากฏร่อยรอยจากพยานเอกสารเลยก็จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานจากพยานบุคคล สถานศึกษาต้องไต่สวนจนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง  แล้วรายงานผลการไต่สวน ให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้   ให้หรือไม่  หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้  ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้  สถานศึกษา ไม่มีอำนาจพิจารณาเอง
26. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ  พ.ศ.2547
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ  พ.ศ.2547
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 เมษายน  พ.ศ. 2547
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายอดิศัย   โพธารามิก      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนอะ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
27. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2)   พ.ศ.2548
            ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2)   พ.ศ.2548
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน  พ.ศ. 2548
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายจาตุรนต์   ฉายแสง    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ  หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
                เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
28. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  พ.ศ.2546
            ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  พ.ศ.2546
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม  พ.ศ. 2546
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ นายไพฑูรย์    จัยสิน  อธิบดีกรมสามัญศึกษา  รักษาราชการแทน  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  ผู้อำนวยการอาจมอบหมายหรือมอบอำนาจในการสั่ง  การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่น ให้ ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติราชการแทน คือ
                1. รองผู้อำนวยการ
                2. หัวหน้ากลุ่ม
                3. หัวหน้าศูนย์
                4. หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าหัวหน้ากลุ่ม
                5. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
                6. ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป โดยความเห็นชอบของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                การมอบหมายหรือมอบอำนาจ ให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามรถ และความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
29. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
            ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม  พ.ศ. 2551
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ  คุณหญิงกษมา    วรวรรณ ณ อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแล การปฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบ
การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงาน โครงการที่กำหนดไว้ในลักษณะภาพรวมเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมอบอำนาจต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง
30. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
            ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2549
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ  นางพรนิกา     ลิมปพยอม  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบสร็จรับเงินได้ ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้ และให้สถานศึกษาเก็บเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ทางคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

31. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
            ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
                ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม  พ.ศ. 2551
                ผู้ลงนามในระเบียบ คือ  นางพรนิกา    ลิมปพยอม    เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื้อหาสาระที่ได้ค้นพบจากระเบียบนี้ คือ  การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหาย
ให้สถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐานการรื้อและจำหน่ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง