วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


1. ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้วตอบคำถามให้นักศึกษาตอบคำถามดังนี้

1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
            พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้วันที่ 11 มิถุนายน 2546   และบังคับใช้วันที่ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง 
                ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
คุรุสภามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ข้อ คือ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตกำหนดนโยบาย   ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง 
อำนาจหน้าที่คุรุสภามี 15 ข้อ คือ ออก พัก เพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญา วุฒิบัตร ความรู้ประสบการณ์  ออกข้อบังคับคุรุสภา  ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครม.เกี่ยวกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
คุรุสภาอาจมีรายได้ 5 รายการ คือ ค่าธรรมเนียม  เงินอุดหนุน  ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน  มีผู้อุทิศให้  ดอกผล

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
คณะกรรมการคุรุสภามี 39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องประกอบด้วย
กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องมีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้  ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี  ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ 6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี 17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา หน้าที่สำคัญพิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์  มีวุฒิทางการศึกษา ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
มาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์  มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
มาตรฐานการปฏิบัติตนประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง ต่ออาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยมีหน้าที่ ยก ตัก ภาค พัก เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา  ตักเตือน ภาคทัณฑ์  พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี  เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
สมาชิกคุรุสภามี 2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุด 5 วิธี คือ ตาย  ลาออก  คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นถอดถอนกิตติมศักดิ์  ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
สกสค.ย่อมาจาก คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
สกสค.มี 23 คน ประธานคือ  รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
ผู้ที่สอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ผู้ที่ถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือใคร
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ต่อ/แทน  รอง  นาญ  ขึ้น = 200 , 300 , 400 , 500 บาท ตามลำดับ หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนาญการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500บาท


2. ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

1. นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
            วิชาชีพ เป็นคำสนธิของคำว่า  วิชา + อาชีพ คือ อาชีพที่ต้องใช้วิชาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการเรียนนำมาใช้ในการตัดสินใจในการประกอบอาชีพด้วยความรับผิดชอบภายใต้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนั้นๆ โดยปัจจุบันประเทศไทยมี 14 สภาวิชาชีพ ซึ่งวิชาชีพนี้ มีความหมายแตกต่างจากอาชีพโดยทั่วไป เพราะอาชีพโดยทั่วไปนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้วิชาและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ เช่น วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพวิศวกร วิชาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี วิชาชีพครู วิชาชีพเหล่านี้ที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพมาใช้ในการประกอบอาชีพภายใต้การรับรองของสภาวิชาชีพ ซึ่งอาชีพโดยทั่วไปไม่ต้องใช้ เช่น พนักงานตามสำนักงาน แม่ค้า-แม่ค้า ช่างต่างๆ ซึ่งอาชีพเหล่านี้ ไม่มีสภาวิชาชีพควบคุมดูแล เป็นอาชีพทั่วๆไปที่ใครก็สามารถทำได้ เพียงแค่การฝึกฝนประสบการณ์ที่เพียงพอ หรือบางกรณีอาจเป็นความชอบ หรือความถนัดส่วนตัวก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้

2. วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา  ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ

3. การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร 
การประกอบวิชาชีพควบคุม ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
                1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
                2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
                3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
                4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหากล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
                1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
                2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
                3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ยกข้อกล่าวหา  ตักเตือน  ภาคทัณฑ์  พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี   เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 

5. ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
มาตรฐานความรู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู               
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้                            
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา             
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา                       
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู

6. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
        มีความคล้ายกันเนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยระบบการฝึกตามความสามารถเป็นรูปแบบการฝึกที่มีการวางแผนการฝึกระหว่างผู้รับการฝึกและผู้สอนโดยออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามความต้องการและความสามารถของผู้รับการฝึก  สภาพการฝึกเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมหรืองานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ มีการจัดสภาพแวดล้อมในการฝึกสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ มีการวัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ความสามารถตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานหรือมาตรฐานความสามารถและสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบกิจการ การฝึก จึงอยู่บนแนวคิดที่ว่า ฝึกตามแผนของตน พัฒนาคนตามความสามารถ


กิจกรรมที่ 4


ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1.  เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
                การศึกษาเป็นกระบานการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มรคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้นประชากรในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2.  ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
                ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                ข. เด็ก  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
                ค. การศึกษาภาคบังคับ  หมายความว่า  การศึกษาปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                ง. องก์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.  กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
                การที่ผู้ปกครองไม่ส่งตามที่กฎหมายฉบับที่ 6 นั้น กำหนดจะต้องถูกลงโทษโดยการปรับเงินไม่เกินหนึ่งพันบาท และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเจตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบ เด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีทั้งหมด 21 ข้อ
                อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในกฎหมาย คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนขอข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ หน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาด การจัดระเบียบบริหารราชการการส่วนกลาง ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรงศึกษาธิการ ประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการรัฐมนตรี รองเลขาธิการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง ติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ หน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือ การศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินงาน บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา ประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษา ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด หน่วยงานอื่นสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบการจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามรถ พิเศษ การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพได้
               

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักศึกษาตอบคำถาม
1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
          พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมาย บังคับใช้แก่ประชาชน โดยคะแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์และเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจ  จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป  เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.  ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
          มาตรา 6  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั่งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
          จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุกมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย  “ มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ”  การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนร่วม
          มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
          มาตรา 7  เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอน ตามนโยบายของรัฐ และเหมาะกับสภาพของสังคมไทย เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่อาจจะสามารถประเมินได้ และร่างโดยคำนึงถึงปรัชญาการเมือง และวัฒนธรรมไทย  หรือความปารถนาของสังคมไทย
          มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
          (1)  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
          (2)  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          (3)  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3.  หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดหลักการศึกษาไว้ และใช้หลักการดังกล่าวเป็นตัวกำหนดสาระเนื้อหาของกฎหมายว่าด้วยการศึกษา
      หลักสำคัญในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
          1.   การศึกษาตลอดชีวิต คือ คนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น และ คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศโดยส่วนรวม ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้ เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัวเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
          2.   การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและช่วยดูแลการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
          3.   การพัฒนาต่อเนื่อง  การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง ดังนั้น การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ต้องถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ ในการปรับปรุงตนเองให้ทันโลก และทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม เพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การรับความรู้มาถ่ายทอดโดยปราศจากดุลยพินิจอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันดูแลให้ความรู้ใหม่ๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคมอย่างแท้จริง

4.  หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการรักการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
          (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
          (2)  มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          (3)  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
          (4)  มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลาการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
          (5)  ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา 
          (6)  การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
          หลักการ 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารจัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ และประสิทธิภาพขอองการศึกษาจะต้องยื่นอยู่บนเสาหลัก 4 ประการ คือ
          1. การจักระบบการบริหาร ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
          2.  จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
          3.  ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
          4.  จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
          ยุทธศาสตร์ 4 ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9
5.  สิทธิและหน้าที่การทางศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม กาสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
          การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
          การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
          ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า “โอกาส” ไว้ด้วย ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญเพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า “โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่า หมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ
          วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม  เช่น  เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น  ส่วนที่ “บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้หรือไม่มีผู้ดูแล”  ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง  ประเด็นที่ถกเถียงกันก็คือคำ “แรกพบ” กับ “แรกพบ”คำหลังอาจจะชัดกว่า “แรกเกิด” อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ)  หรืสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง  แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์ คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย “แรกพบ” ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา
          วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสามารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
          มาตรา 11  บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามาตรา 17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว                
          มาตรา 12  นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          มาตรา 12 นี้ คือ หลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า “ทุกคนเพื่อการศึกษา” และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8 ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
          มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
          (1)  การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
          (2)  เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
          (3)  การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
          มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
          (1)  การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
          (2)  เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
          (3)  การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมาย
          ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า “ตามควรแก่กรณี” นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน “สนับสนุน” เช่น บริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3
6.  ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
          ระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
          รูปแบบของการจัดการศึกษา
          รูปแบบการศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดนั้นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
          1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน  การศึกษาในระบบเช่นนี้  หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน  ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียก อย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
          2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
          3.  การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่า เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย  ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ
7.  ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
          ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ การจัดการศึกษา ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา ทักษะในการประกอบอาชีพ เนื้อหาสาระของหลักสูตรจะต้องพิจารณาระดับการศึกษา และความถนัดส่านบุคคลมาประกอบด้วย หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า หลักสูตรแกนกลางที่เน้นตัวร่วมหรือค่านิยมร่วมระดับชาติ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบนการคิด และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ไว้สนับสนุน ให้บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย จัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาการพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การสอนวิชาชีพในท้องถิ่น การแสวงหาความรู้ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
8.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3
          มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
          มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวศึกษา
          ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
          ในกรณีที่สถานศึกษาได้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาได้ ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้น
ที่การศึกษาก็ได้
          (1) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
          (2) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
          (3) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
          (4) การจัดการศึกษาทางใกล้ และการจัดการศึกษาที่ให้บริหารในหลายเขตพื้นที่การศึกษาให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
          “ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”
          เหตุผลที่แก้ไขคือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา ของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริการและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
9.  การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
          เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพราะกระทรวงได้มีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง การกระจายอำนาจดังกล่าว จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.  การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
          เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูรณาการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการ ศึกษาท้องถิ่น
11.  หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
          (1) การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้
          (2) จัดให้มีกลุ่ม ฝ่ายหรือคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
          (3) พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
          (4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
          (5) ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา
          (6) จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
          (7) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
12.  การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
          เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้น เพราะใบประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐละเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ค่าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงิน พ.ศ. 2547 ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้นๆ
13.  ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไร
          ดิฉันคิดว่าแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นนั้น จะต้องให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อ การศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษาบริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วม รับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี                 
14.  ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย        
          ดิฉันคิดว่าแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้บูรณาการเข้าสู่ระบบการศึกษา ดั้งนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินศึกษาในอนาคต เอให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษาแต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคต จึงมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็รสื่อในการศึกษา