วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 8


ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546    เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
            พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546  และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546
2. ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
            ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
3. เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
            เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้  เพราะมีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอและเนื่องจากมาตรา 3/แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5.. 2545 บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
4. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
            พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี  9 หมวด  53 มาตรา ประกอบด้วย
                     หมวดที่ 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                 หมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
                     หมวดที่ 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                     หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
                     หมวดที่ 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                     หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
                     หมวดที่ 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
                     หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
                     หมวดที่ 9 บทเบ็ดเตล็ด
มาตรา 1  พระราชกฤษฏีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ”
มาตรา 2  พระกฤษฏีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา     เป็นต้นไป
มาตรา 3  การปฏิบัติตามพระราชกฤษฏีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ ก.พ.ร.
มาตรา 4  ในพระราชกฤษฏีกานี้
 “ ส่วนราชการ ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับข่องราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ ”หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฏีกา
ข้าราชการ ” หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
มาตรา 5  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฏีกานี้
มาตรา 6  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
มาตรา 7  การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคม ส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ
มาตรา 9  การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มาตรา 10  ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มาตรา 11   ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้สามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
มาตรา 12  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
มาตรา 13  ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 14   ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผนดินตามมาตรา 13 ให้จัดทำเป็นแผนสี่ปีโดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
มาตรา 15  เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ 
มาตรา 16  ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13
มาตรา 17  ในกรณีที่กฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ
มาตรา 18 เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น
มาตรา 19  เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่
มาตรา 20  เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ
มาตรา 21   ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้อนทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
มาตรา  22    ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก
มาตรา   23  ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรมโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
มาตรา 24 ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
มาตรา 25 ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้น ๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มาตรา 26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้นบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและ เมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
มาตรา 27 ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน

มาตรา 28 เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจตาม มาตรา 27 ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
มาตรา 29 ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลา การดำเนินการ 
มาตรา 30 ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
มาตรา 31 ในศูนย์บริการร่วมตาม มาตรา 30 ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่าง ๆ และดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคำขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วม
มาตรา 32 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ จัดให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือต่อเนื่องกันในจังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นำความใน มาตรา 30 และ มาตรา 31 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา
 33 ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
มาตรา
 34 ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร. 
มาตรา 35 ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ 
มาตรา
 36 ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดำรงชีวิตของประชาชน
มาตรา
 37 ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด
มาตรา
 38 เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น 
มาตรา
 39 ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของ ส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
มาตรา 40 เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif
มาตรา
 41 ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควร ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้น ให้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบผลการดำเนินการด้วย
มาตรา
 42 เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความสะดวกรวดเร็ว ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ
มาตรา
 43 การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย
 มาตรา 44 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว 
มาตรา
 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตาม มาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
 มาตรา 46 ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับและเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ 
มาตรา
 47 ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น
มาตรา
 48 ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 
มาตรา
 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ  มาตรา 50 เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ คุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ก.พ.ร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจกำหนดให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติการใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 48 และ มาตรา 49 ก็ได้
 มาตรา 51 ในกรณีที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนงานในเรื่องใด
 มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ 
มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ 

5. วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
            วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกอบด้วย
                                - เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
                                - เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                                - มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
                                - ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
                                - มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
                                - ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
                                - มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
6. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
            หน่วยงานที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิกเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
7. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
            หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลา  90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
8. แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
            แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผน 4 ปี โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้ และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
9. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
            ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และคณะผู้ประเมินอิสระ
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
            คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชน ผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ก.พ.ร.  กำหนด

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1. กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
                คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น
                การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ  คือ การใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ให้เป็นผลในทางปฏิบัติอย่างแท้ จริง เพื่อให้การดำเนินชีวิตในทางสังคม (VIE SOCIALE) ของประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้โดยความสงบสุขของส่วนรวม นอกจากนี้การดำเนินการใช้บังคับกฎหมายยังมีนัยที่รวมถึงการสร้างแบบอย่าง เพื่อให้ราษฎรของประเทศยอมรับและเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันจะส่งผลให้บริบทแห่งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองภายในประเทศสามารถดำเนินการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ราชอาณาจักรไทยได้รับการยอมรับนับถือจากสหภาพและรัฐต่าง ๆ ในเรื่องความสามารถในการรักษาความปลอดภัยและสงบเรียบร้อยภายใน

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
                เห็นด้วย  เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้น เพราะใบประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐละเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ค่าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงิน พ.ศ. 2547 ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้นๆ

3. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
                  ดิฉันคิดว่าแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นนั้น จะต้องให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อ การศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษาบริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วม รับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี             

 4. รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง   
                ูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
                1 การศึกษาในระบบ
                2 การศึกษานอกระบบ
                3 การศึกษาตามอัธยาศัย
                การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ
                1 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่างน้อย 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
                2 ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา  
               
5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
            การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีความแตกต่างกัน คือ การศึกษาภาคบังคับ นั้นจะต้องจัดการศึกษาจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจน อายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วน การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ จะต้องจัดการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา

6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
            การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกฎกระทรวง คือ
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
                        ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษานั้นจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการประกอบชาชีพและจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและที่สำคัญจะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพด้วย เพื่อจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต และมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ  ออกและเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพด้วย

8. ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ. นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
            ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำจะถือว่าไม่กระทำผิด เพราะถ้าหากมีผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ยกเว้นได้ว่า หากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
            โทษทางวินัย  สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ เป็นบทลงโทษ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติของผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
                โทษทางวินัยมี  5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
“เด็ก”  หมายความว่า  บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน”  หมายความว่า  เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า”  หมายความว่า  เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก”  หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
                “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด”  หมายความว่า  เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม”  หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม