วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ 
1. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
                กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา
                พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาพระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                พระราชกำหนด คือ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับ เช่น พระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
                พระราชกฤษฎีกา คือ บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย”
                เทศบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเทศบาลของท้องถิ่นนั้นๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
                ดิฉันคิดว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศนั้น ปัจจุบันมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ควรมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ 
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่แก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องแก้ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญและไม่ควรเอาความคิดส่วนตัวเป็นหลัก ฉะนั้นดิฉันคิดว่าควรที่จะทำทุกอย่างเพื่อประเทศ ให้ประเทศชาติอยู่อย่างสงบสุขและประชาชนก็จะอยู่กันอย่างมีความสุข
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษาขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดน ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
                ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับประชาชนในประเทศ เพราะเส้นเขตแดนที่กำลังทะเลาะกัน มันถูกขีดขึ้นโดยคนอื่นมันมาทีหลัง มันเป็นจินตนาการและสิ่งสร้างในฝันที่ดูเหมือนจะสวยงาม เพราะแท้ที่จริงแล้วเส้นเขตแดน มันพาดผ่านทอดทับหมู่บ้าน ผู้คน กลุ่มชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆมานานแล้ว มันแบ่งแยกเราเขาที่พูดภาษาเดียวกัน เคยเป็นครอบครัวเดียวกัน เคยไปมาหาสู่ซื้อขายสินค้า พบปะสังสรรค์ มันอาจมีความสำคัญกับรัฐชาติสมัยใหม่ แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากมายกับชีวิตผู้คนที่เขาอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ดังนั้น อย่าให้สิ่งที่มันเป็นเพียงจินตนาการที่มีประโยชน์ไม่มากมาทำลายชีวิตผู้คน การทำมาหากิน การได้ใช้ชีวิตปกติ ครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลย 
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติการศึกษานั้นเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา  เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง  ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา
                การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้และการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ก็คือ การเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองมุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเองและปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของโลก
                การศึกษาในระบบ คือ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบเช่นนี้  หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียก อย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
                การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
                การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่า เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย  ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ
                สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
                สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ เป็นสถานที่ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
                ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียนสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่านรวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
                คณาจารย์ คือ บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
           
                ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
                บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
                ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา ดิฉันคิดว่าเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา  หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา
                หลักการจัดการศึกษา ดิฉันคิดว่าเป็นการศึกษาที่จัดให้กับคนไทยทุกคน อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และต้องพัฒนาสาระ กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคนไทยตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
                ไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
         1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
         2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
         3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
         4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
         5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
          6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
          7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
          8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

9. หากนักศึกษาต้องการสอนบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
                1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2547
             2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
             3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
             4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
                ในการเรียนวิชานี้ดิฉันคิดว่าเป็นวิชาที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายในมาตราต่างๆ และพระราชบัญญัติอีกมากมายที่ดิฉันไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้ติดตัวไปด้วยและดิฉันก็ได้เรียนตามจุดประสงค์ที่อาจารย์ได้วางไว้อย่างครบถ้วนแล้ว
                ในการเรียนวิชานี้โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog นั้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากและมีความเหมาะสมด้วย โดยปกติวิชานี้เป็นที่มีเนื้อหามากแล้วก็ควรที่จะใช้การดาวน์โหลดเนื้อหามันจะง่ายกว่ากับการที่จะต้องมานั่งเขียนในสมุด เพราะมันจะทำให้เปลืองกระดาษก็ได้ บางทีการเรียนโดยใช้หนังสือหรือสมุดมันอาจจะทำให้หายก็ได้ แต่ถ้าเรียนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog เราก็จะสามารถเรียนได้ตลอดเวลาที่มีอินเตอร์เน็ตและก็สามารถเก็บได้นาน   
                ส่วนเรื่องน้ำหนักเกรดวิชานี้ให้ A เพราะเป็นวิชาที่มีความรู้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีด้วย และที่สำคัญเกรดที่ดิฉันอยากก็คือ A ค่ะอาจารย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น